โรคโลหิตจาง กับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

มีใครที่เคยยืนอยู่ดีๆ แล้วก็มีอาการรู้สึกมึนหัว ตาลาย หงุดหงิด ร่างกายมีอาการเหนื่อยล้า ปวดเมื่อยง่าย จนทำให้การใช้ชีวิตการดำเนินชีวิต หรือการมีประสิทธิภาพการทำงานลดลงไหม ซึ่งถ้าเคยมีอาการแบบนั้นให้ตั้งสันนิษฐานหรือสงสัยได้เลยว่า คุณอาจจะเป็นโรคโลหิตจาง เพราะการที่เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ จะทำให้การส่งออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ แต่ทั้งนี้ไม่ต้องกังวลอะไรไปหรอกค่ะ เพราะอาการเหล่านั้นเราสามารถรักษาได้ด้วยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กมากๆ เหล่านี้

1. อาหารทะเล
อาหารทะเลส่วนใหญ่ เช่น หอยกาบ หอยพัด หอยแมลงภู่ หมึกกระดอง และหอยนางรม จะมีธาตุเหล็กสูง รวมถึงปลาชนิดต่างๆ ซึ่งมีไขมันบางชนิดมาก เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมกเคอเรล และปลาแอนโชวี่ ซึ่งการรับประทานอาหารทะเลและปลาที่มีไขมันสูง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งมันจะช่วยป้องกันภาวะโลหิตจาง

2. ถั่ว
โดยถั่วยืนต้นซึ่งเป็นแหล่งของธาตุเหล็กที่ดีและยังมีรสชาติที่อร่อย แต่ถั่วพิสตาชิโอนั้นเป็นแหล่งของธาตุเหล็กที่ดีที่สุด เพราะมีปริมาณของธาตุเหล็ก 15 มก. ต่อถั่ว 100 กรัม

3. มะเขือเทศ
มะเขือเทศ เป็นผักมีทั้ง วิตามินซีและไลโคปีน โดยที่วิตามินซีนั้นจะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ง่ายขึ้น และไลโคปีนก็มีความสามารถในการต่อสู้กับโรคต่างๆ (โดยเฉพาะต่อโรคมะเร็ง) ผักชนิดนี้ยังอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนและวิตามินอี ซึ่งช่วยในเรื่องของผิวและเส้นผมอีกด้วย

4. น้ำผึ้ง
โดยน้ำผึ้ง 100 กรัม มีปริมาณของธาตุเหล็ก 0.42 กรัม นอกจากนี้ยังมีแมกนีเซียมและทองแดง จะช่วยเพิ่มปริมาณของฮีโมโกลบินในเลือดอีกด้วย

5. ขนมปังธัญพืชแบบไม่ขัดสี
ขนมปังธัญพืชแบบไม่ขัดสีหนึ่งชิ้น จะมีปริมาณของธาตุเหล็กที่คุณต้องการในแต่ละวัน 6% ขนมปังธัญพืชเป็นแหล่งของธาตุเหล็กประกอบที่ไม่ใช่ฮีมชั้นยอด จะช่วยให้ร่างกายของคุณมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับภาวะขาดธาตุเหล็กได้

6. ปวยเล้ง
จะอุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี วิตามินบี9 เส้นใยอาหาร เบต้าแคโรทีน และธาตุเหล็ก โดยผักปวยเล้ง 1 ถ้วยมีปริมาณของธาตุเหล็ก 3.2 มก. ซึ่งเป็น 20% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน

อย่างไรก็ตาม ใครที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคไต เบาหวาน และอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานอาหารเหล่านี้ด้วยนะคะ